เมนู

เหมือนอะไร ? เหมือนสัตว์นรกกระหยิ่มยินดีต่อผู้ไปสวรรค์ ฉะนั้น
อธิบายว่า เปรียบเหมือน สัตว์นรก ต่อสัตว์ผู้เกิดแล้วในนรก ด้วยบาปกรรม
ของตน ย่อมยินดีต่อผู้ไปสวรรค์ คือผู้เข้าถึงสวรรค์ว่า โอหนอ แม้พวกเรา
ละทุกข์ในนรกแล้ว พึงเสวยความสุขในสวรรค์ ชื่อฉันใด ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น
ก็ในคาถานี้ เพราะท่านมุ่งทำประโยคเป็นพหุพจน์ แสดงความหนัก
ในตนว่า เอกกา มยํ วิหราม จึงทำประโยคเป็นเอกพจน์อีกว่า ตสฺส เม
โดยที่ความของบทนั้น หมายความอย่างเดียวกัน พึงทราบการแสดงจตุตถีวิภัตติ
ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ โดยเพ่ง แม้บททั้งสองที่ว่า ตสฺส เม และสคฺคคามินํ
(และ) บทว่า ปิหยนฺติ. ก็บทว่า อภิปตฺเถนฺติ นั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้
โดยกระทำอธิบายว่า คนเป็นอันมาก ชื่อว่า ย่อมปรารถนา คุณมีการอยู่ป่า
เป็นต้น เช่นนั้น ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตสฺส เม มีอธิบายว่า ซึ่งคุณทั้งหลายใน
สำนักของเรานั้น
จบอรรถกถาวัชชีปุตตกเถรคาถา

3. ปักขเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปักขเถระ


[200] ได้ยินว่า พระปักขเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เหยี่ยวทั้งหลาย ย่อมโฉบลง ชิ้นเนื้อหลุดจาก
ปากของเหยี่ยวตัวหนึ่งตกลงพื้นดินและเหยี่ยวอีกพวก-
หนึ่ง มาคาบเอาไว้อีก ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้หมุนเวียน
ไปในสงสาร ก็ฉันนั้น เคลื่อนจากกุศลธรรมแล้ว ไปตก
ในนรกเป็นต้น ความสุขย่อมติดตามเราผู้สำเร็จกิจแล้ว
ผู้ยินดีต่อพระนิพพาน ด้วยความสุข.